วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หม้อนึ่งฆ่าเชื้อสแตนเลส เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ (สเตอริไรส์)


หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)
            หลายคนคงเคยเดินเข้าออกโรงพยาบาล หลายคนอาจจะเคยใช้บริการห้องพักของโรงพยาบาล และแน่นอนว่าได้ใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ของโรงพยาบาลเป็นแน่ไม่มากก็น้อยล่ะค่ะ แต่ว่าถ้าไม่เคยก็ต้องขอแสดงความยินดีและขอให้สุขภาพดี สุขภาพแข็งแรงแบบนี้ตลอดไปนะคะ ใช่แล้วค่ะ เรากำลังจะพูดถึงเครื่องไม้เครื่องมือในโรงพยาบาลค่ะ เราอาจจะรู้ว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พี่ๆ พยาบาลหรือคุณหมอกำลังใช้ทำหัตถการให้เรานี้เค้าต้องผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วเป็นอย่างดี แต่เคยสงสัยและอยากรู้ต่อกันมั้ยคะว่าในกระบวนการฆ่าเชื้อนั้น เค้าทำกันอย่างไร ใช้เครื่องมือใดในการฆ่าเชื้อ ดีและปลอดภัยกับเราๆ มากแค่ไหน วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับเครื่องที่ว่านี้กันค่ะ
                เจ้าเครื่องที่รับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ คือ หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave) โดยจะใช้ไอน้ำร้อนและแรงดันสูง เพื่อที่จะทำให้สิ่งของที่นึ่งแล้วอยู่ในสภาพที่ปราศจากเชื้อ จึงนิยมใช้เครื่องนี้ในการฆ่าเชื้อซึ่งเป็นเชื้อทางชีวภาพค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อกำจัดและป้องกันการปนเปื้อนนั่นเอง
                หลักการทำงานของหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)
                หลักการทำงานของเครื่องค่อนข้างต้องเป็นไปตามข้อกำหนดค่ะ เพราะการทำความสะอาดให้ปราศจากเชื้อนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซีเรียสทีเดียว และหลักการทำงานของหม้อนึ่งฆ่าชื้อนี้คือ เอาสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อมาไว้ในห้องที่อุณภูมิและแรงดันของน้ำสูงกว่าปกติซักพักนึงคะ การนึ่งฆ่าเชื้อโดยทั่วไปจะใช้สภาวะอุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส แรงดันไอน้ำ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และใช้เวลานึ่ง 15 นาที และหากนึ่งนานกว่านี้ หรือใช้ความร้อนมากกว่านี้ อาจจะทำให้อุปกรณ์ที่เป็นโลหะเกิดความเสียหาย เป็นสนิมเร็ว สึกกร่อนเร็วกว่าปกติ และอายุการใช้งานสั้นลงค่ะ นี่คือเฉพาะในส่วนของหม้อนึ่งนะคะ ยังไม่รวมการที่จะต้องตั้งค่าอุณหภูมิห้อง และทิ้งไว้สักพัก ก่อนที่จะนำสิ่งต่างๆ เข้านึ่งฆ่าเชื้อค่ะ
                ชนิดของหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
                หม้อนึ่งฆ่าเชื้อแบบมีระบบดูดให้เป็นสุญญากาศก่อนและหลังนึ่ง  (Vacuum) หม้อนึ่งฆ่าเชื้อระบบนี้ จะมีหม้อนึ่งขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมค่ะ จึงมักจะเกิดปัญหาจากขนาดห้องนึ่งคือ แรงดันไอน้ำไม่สามารถไล่อากาศออกได้หมด ทำให้การนึ่งไม่ถึงระดับการฆ่าเชื้อได้เท่าที่ต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีระบบดูดอากาศออกจากห้องก่อนแล้วค่อยใช้แรงดันไอน้ำร้อน ในการนึ่ง เครื่องนึ่งระบบนี้จะมีหม้อต้มให้เกิดไอน้ำแยกต่างหาก ไม่รวมอยู่ในห้องนึ่ง โดยจะฉีดไอน้ำทำให้ห้องนึ่งมีสภาวะความร้อนและแรงดันไอน้ำตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วค่ะ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆที่นำมานึ่งให้ยาวนานกว่าการนึ่งด้วยเครื่อง Autoclave และระบบ Gravity เพราะของที่นึ่งแล้วจะสัมผัสความร้อนในช่วงเวลาที่สั้นกว่าค่ะ
                พาดพิงถึงการนึ่งด้วยระบบ Gravity แล้ว มาดูข้อมูลกันสักนิดค่ะ ซึ่งการนึ่งด้วยระบบนี้ปัจจุบันมี 2 แบบ โดยดูจากการที่ทำให้ของที่นึ่งแห้งเป็นหลัก ได้แก่
                แบบเก่า : ระบบของการทำให้แห้งใช้ความร้อนทำให้ของที่นึ่งแห้งโดยใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีดังนั้นวัสดุบางอย่างอาจจะมีลักษณะ และมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปและทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เพราะได้รับความร้อนมากเกินไป
                แบบใหม่ : ระบบการทำให้แห้งจะมีตัวดูดอากาศจากภายนอกที่เย็นกว่าเข้าสู่อีกห้องหนึ่ง โดยผ่านแผ่นกรอง ขนาดรูพรุน 0.2 ไมครอน อากาศที่เย็นกว่าจะไล่อากาศและไอน้ำที่ร้อนกว่าซึ่งอยู่ภายในห้องนึงสู่หม้อต้ม การใช้เวลาในการทำให้แห้งจึงสั้นกว่า แต่จะต้องเปลี่ยนแผ่นกรองบ่อยๆ เพราะความชื้นที่เกาะอยู่กับของที่นึ่งจะออกไปไม่หมด
                การเลือกใช้หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
                การเลือกใช้หม้อนึ่งฆ่าเชื้อโดยทั่วไปแล้วก็จะมีหม้อนึ่งหลายแบบหลายประเภทค่ะทั้งนี้ก็เพื่อทำงานได้คลอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแล้วการเลือกใช้หม้อนึ่งจึงขึ้นอยู่กับสิ่งของที่จะนึ่งด้วยค่ะ ซึ่งหม้อนึ่งฆ่าเชื้อที่ใช้ไอน้ำมีหลักการอยู่ 4 แบบ ที่ใช้กับอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารทั้งแบบภาชนะที่เป็นกระป๋อง เป็นขวดแก้ว ภาชนะที่เป็นพลาสติกอ่อน หรือแข็ง และการนึ่งแบบนี้ส่วนมากจะใช้กับอุสาหกรรมยาผู้ป่วย เครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล ของเสียหรืออุปกรณ์ที่ผ่านการใช้งานทางการแพทย์ค่ะ
                ลักษณะของหม้อนึ่งฆ่าเชื้อที่ดี
                1.) อุณหภูมิที่ใช้ในการนึ่งควรอยู่ในช่วง 105-123 องศาเซลเซียส สูงสุดไม่เกิน 135 องศาเซลเซียส และไม่ควรน้ยยกว่านี้
                2.) ความมานยำของอุณห้ภูมิ ควรจะอยู่ที่ไม่เกิน + / - 0.1 องศาสเซลเซียส
                3.) ความดันสูงที่หม้อนึ่งสามารถทำได้คือไม่ควรเกิน 26 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
                4.) ระบบการปล่อยความดันออกควรจะมีแผ่นกรองเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื่อนจากภายนอกห้องนึ่ง
                5.) พื้นผิวภายในและภายนอกตู้ควรทำมาจากวัสดุที่ทนความร้อนได้สูง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสติก
                6.) มีระบบควบคุมความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุณหภูมิและความดันสูงเกินความต้องการ
                ประโยชน์ของหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
                การนึ่งฆ่าเชื้อหรือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกิดการปนเปื้อนหรือติดเชื้อทางชีวภาพ ใช้สำหรับนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำและแรงดันสูง โดยสิ่งที่สามารถนำมาฆ่าเชื้อ ได้แก่
                1.) เครื่องมือที่เกิดการปนเปื้อน หรือเครื่องมือที่นำไปใช้เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์
                2.) สิ่งเพราะเลี้ยงหรือหัวเชื้อที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ไวรัส
                3.) อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกิดการปนเปื้อน เช่น กระดาษผ้า เสื้อผ้า หลอดทดลองต่างๆ ถุงมือ เป็นต้น
                4.) ตัวอย่างเนื้อเยื่อสัตว์ทั้งที่เกิดและไม่เกิดการติดเชื้อ
                สิ่งที่ไม่ควรนำมานึ่ง ได้แก่ สารแผ่รังสี พลาสติก สารละลายที่ระเหยได้หรือสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
                กระบวนการขั้นตอนในการนึ่งฆ่าเชื้อนั้นมากมายจริงๆ นะคะกว่าจะออกมาให้ราได้ใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย แต่เห็นคุณภาพแบบนี้แล้วก็หายห่วงค่ะ


ก็อปกรุณาให้เครดิต ด้วยนะค่ะ 



9-5-2561 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น