วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ(สเตอริไรซ์) & ถังแรงดันสแตนเลส


หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ/ถังแรงดัน

                หากจะติดตั้งถังเก็บน้ำแล้วก็ต้องมาคู่กันแน่นอนค่ะสำหรับ ถังแรงดัน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบหลากหลายชนิดมากๆ ค่ะ  ซึ่งการใช้งานของถังแรงดันน้ำคือ ใช้ประกอบกับระบบบูสเตอร์ปั๊ม (Booster System) เพื่อรักษาแรงดันน้ำในระบบ และยังช่วยประหยัดพลังงานโดยที่ปั๊มไม่ต้องทำงานตลอดเวลา / ใช้สำหรับจ่ายน้ำสำหรับบ้านพักอาศัยและสำนักงาน และอีกต่างๆ มากมายค่ะ วันนี้เรามาดูกันค่ะว่า แต่ละแบบแต่ละประเภทเป็นยังไงกันบ้าง  เริ่มกันที่ชิ้นแรกค่ะ

                Zilmet Pressure Tank (ถังแรงดัน ยี่ห้อ Zilmet)

                Zilmet Pressure Tank เป็นถังแรงดันคุณภาพสูงจากอเมริกา ซึ่งต้องบอกว่าได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคนี้เลยก็ว่าได้นะคะ ด้วยคุณภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนานจึงเป็นที่ยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรม อีกด้วยจ้า ถังแรงดัน Zilmet Pressure มีหลายขนาด ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน อีกทั้งยังสามารถทนแรงดันในช่วง 10, 16 และ 25 Bar และถุงไดอะเฟรมมีความปลอดภัยถึงขั้นที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้จ้า

                Best Pressure Tank (ถังแรงดัน ยี่ห้อ BESTTANK)


                Best Pressure เป็นถังแรงดันแบบเต็มใบ ทรงตั้ง ผลิตจากประเทศตุรกี ซึ่งมีเกจวัดแรงดันในตัวสามารถอ่านค่าได้ง่าย ซึ่งในส่วนของการผลิตนั้นก็ผลิตได้มาตรฐานและได้รับการรับรองโดย CE 97/23, NSF-61, BS-6920, WRAS, DIN 4807-3 อีกด้วยค่ะ นอกจากนี้เค้ายังมีคุณสมบัติเด่นๆ อีกอย่างคือ สามารถเปลี่ยนถุงไดอะเฟรมได้ และ มีเกจวัดแรงดันที่ถังสามารถอ่านค่าแรงดันลมที่ถังได้สะดวกแถมยังมีให้เลือกหลายขนาดอีกด้วยค่ะ

                Zilmet Pressure Tank Tank (ถังแรงดัน ยี่ห้อ Bauman)


                Zilmet Pressure Tank ยี่ห้อนี้มาจากอิตาลี่เช่นกันค่ะ ด้วยวัสดุและการผลิตที่แข็งแรงได้มาตรฐานสากล ทำให้ถังไดอะเฟรม ของถังแรงดัน ยี่ห้อ Bauman ได้รับความสนใจและความไว้วางใจจากผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งบาวแมนมีคุณสมบัติเด่นๆ ดังนี้

                1.) ถุงแบบเต็มใบสามารถเปลี่ยนถุงยางไดอะเฟรมได้

                2.) เนื้อวัสดุทำจาก EPDM Membrane ทำให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้น้ำ

                3.) มีความทนต่อแรงดันน้ำถึง 10 บาร์ และตัวถังยังทำจากคาร์บอนสตีลอีกด้วย

                5.)  ตั้งแต่รุ่น 200 ลิตรขึ้นไป มีเกจวัดแรงดันทำให้อ่านค่าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

                6.) ทนต่ออุณหภูมิของของเหลวได้ถึง 90 องศาเซลเซียส

                7.) เป็นถังแบบตั้งช่วยให้ประหยัดพื้นที่ได้เยอะ

                8.) มีให้เลือกหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 20-1000 ลิตร

                หลายคนอาจจะสงสัยว่า ถังแรงดันน้ำ กับปั๊มน้ำ คืออันเดียวกันหรือไม่ แล้วต่างกันอย่างไร คำตอบคือ ถังแรงดันน้ำ กับปั๊มน้ำ คนละส่วนกันค่ะ แต่เค้าจะทำงานร่วมกัน โดย ปั๊มน้ำจะทำหน้าที่สูบน้ำเข้าไปยังถังแรงดัน และเมื่อแรงดันในถังแรงดันอยู่ในระดับที่ตั้งเอาไว้ สวิชต์ควบคุมจะสั่งไปยังปั๊มน้ำให้หยุดทำงาน เมื่อแรงดันถึงจุดที่กำหนด และเมื่อเปิดก๊อกน้ำใช้ แรงดันในถังแรงดันจะลดลงอีกครั้ง จนถึงระดับที่ตั้งไว้ สวิทชต์ควบคุมแรงดันก็จะสั่งงานให้ปั๊มน้ำทำงานอีกครั้ง เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ค่ะ ซึ่งเราเรียกปั๊มน้ำชนิดนี้ว่า ปั๊มอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีปั๊มน้ำที่เรียกว่า ปั๊มหอยโข่งคือ หากเราต้องการใช้น้ำ หรือต้องการปิดน้ำ เราก็ต้องเปิดปิด บริการตัวเองค่ะ ซึ่งปั๊มหอยโข่งนี้ เหมาะกับการปั๊มน้ำขึ้นมาพักไว้ก่อน เช่น ในอพาร์ทเม้นต์ ที่ปั๊มน้ำขึ้นมาพักไว้ที่ถังพัก ก่อนจะปล่อยลงมาบริการผู้รับบริการตามห้องพักต่างๆ อีกต่อไปจ้า

                การเลือกขนาดถังแรงดัน

                ทราบข้อมูลเบื้องต้นกันแล้ว ก็มาถึงส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งค่ะ นั่นก็คือ ขนาดของถังแรงดัน ซึ่งมีมากมายหลายขนาดมากๆ แล้วเราจะเลือกขนาดใดที่มีความเหมาะสมกับสิ่งที่จะใช้งานดีล่ะ

                ซึ่งการเลือกขนาดของถังแรงดันให้เหมาะสมกับการใช้น้ำ มีส่วนสำคัญมากๆ ต่อการประหยัดพลังงาน เพราะหากแรงดันมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้รอบของการสตาร์ทมอเตอร์มีจำนวนครั้งมากขึ้น ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นนั่นเองจ้า เพราะการสตาร์ทของมอเตอร์ในแต่ละครั้งจะต้องใช้กระแสไฟที่เยอะกว่าการหมุนรอบปกติของมอเตอร์ถึง 3 เท่า แต่หากเลือกใช้ถังที่มีขนาดใหญ่เกินไป ก็จะเกิดปัญหาแรงดันน้ำต่ำเกินไป ในช่วงที่ปั๊มยังไม่สตาร์ท

                ดังนั้นในการเลือกขนาดของถังแรงดัน ก็จะมีการคำนวณนิดหน่อยค่ะ

                การคำนวณหาขนาดถังที่เหมาะสม ก็คือการคำนวณหาปริมาณน้ำที่เหมาะสม เก็บในถังแรงดัน (Effective Water Reserve : EWR)  ให้มอเตอร์ไม่ต้องทำงานบ่อยเกินไป และมีแรงดันที่สม่ำเสมอ ในช่วงที่มอเตอร์ยังไม่สตาร์ทนั่นเองค่ะ โดยพิจารณาการตั้งสวิชแรงดัน ที่ตำแหน่ง  จุดสตาร์ทมอเตอร์ (Pump Start : Ps) และจุดที่สวิชตัดไฟ (Pump pause : Pp) มาเป็นตัวเป้าหมายในการคำนวณร่วมกันกับปริมาณน้ำที่ปั๊มจ่ายโดยเฉลี่ยเป็นลิตร/นาที และจำนวนครั้งที่ปั๊มทำงาน (n) ในหนึ่งชั่วโมง (โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดให้ปั๊มทำงานที่ประมาณ 10-20 ครั้งต่อชั่โมง  แล้วเอาตัวเลขที่คำนวณได้ไปเทียบค่า เพื่อหาขนาดถังแรงดันที่เหมาะสมได้เลยค่ะ

                เช่น  ใช้ปั๊มที่จ่ายน้ำได้ 200 ลิตร / นาที และต้องการให้ป๊มทำงานประมาณ 18 ครั้ง/นาที  ต้องสวิชแรงดันให้ปั๊มทำงานที่ 3 บาร์ และตัดไฟที่ 4.5 บาร์ โดยใช้สูตร คำนวณ ดังนี้

                EWR = (16.5x Q) / n

                EWR = (16.5x 200) / 18

                EWR = 183 ลิตร (นี่คือปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับเก็บในถังแรงดัน)

จากนั้นเอาค่า EWR183 ลิตรที่คำนวณได้นี้ ไปเทียบกับตารางค้นหาขนาดที่เหมาะสมของถังแรงดันได้เลยจ้า

Credit : Thai Asia Stainless 
บริษัท ไทยเอเชียสแตนเลส จำกัด 
www.facebook.com/stainless81

21
/6/2561 18:30 


📲 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.0931294212 นาง
โทร.0801611390 ช่างดำ
โทร.0619957330 จอน
อีเมลล์ : stainless81@hotmail.co.th(หลัก)
อีเมลล์ : kajonsakzaza@gmail.com(สำรอง)
Line id : stainless81 (จอน)
Line id : nangnatta (นาง)
โรงงานอยู่ที่
41/8 หมู่ที่1 ถนนเอกชัย ตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 7400 (ตรงข้าม อบต.คอกกระบือ)
หรือค้นหาใน google mapได้ที่ บริษัท ไทยเอเชียสแตนเลส จำกัด

               

               

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น